การเล่านิทานในประเทศทางตะวันออก

แหล่งเล่านิทานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศทางทิศตะวันออกคือ ประเทศอินเดีย ซึ่งมีนิทานเก่าแก่ก่อนพุทธกาล เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาช้านาน ซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลายได้จำสืบกันต่อๆกันมา ตั้งแต่ 2,500ปีขึ้นไป-3,000ปี
 ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีชุมชนพื้นเมืองอยู่มากมายหลายเผ่าและมีการเล่านิทานกันทุกเผ่า เช่น นิทานปัญจาบ นิทานเบ็งคลี และภายหลังได้มีการรวบรวมตีพิมพ์
สำหรับประเทศไทยสันนิษฐานว่า มีนิทานก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ นิทานที่อยู่ในหนังสือพงศาวดารเหนือ เรื่องเล่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย เป็นราชธานีของไทย ไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นผู้แต่ง เช่น นิทานเรื่อง ขอมดำดิน และต่อมาสืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ จึงมีนิทานพื้นบ้านจากนิทานชาดกและนิทานของอินเดียโดยเฉพาะนิทานปรัมปรา นิทานสอนใจและเทพนิยาย นิทานชาดกเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับพระพุทธศาสนา มีประมาณ 500 เรื่อง มีหลักฐาน คือ ศิลาจารึกภาพลายเส้นจำหลักบนแผ่นหินเกี่ยวกับเรื่องชาดกต่างๆในชาดกห้าร้อยชาติที่ประดับไว้ในเจดีย์วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย
รัชรี รมยะนันท์ (2522:9773-9776)ได้แบ่งแยกนิทานไทยตามสมัยได้ 8 อย่างดังนี้

1.นิทานก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ นิทานที่มีอยู่ในพงศาวดารเหนือเรื่องราวที่กล่าวถึง เป็นเรื่องที่เกิดก่อนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยไม่อาจบอกได้ว่าใครเป็นผู้แต่ง เช่น นิทานเรื่อง ขอมดำดินเป็นเรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายในสมัยนั้น
www.weloveshopping.com


2.นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก นิทานเหล่านี้มีประมาณ 500เรื่อง สันนิษฐานว่าเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับพระพุทธศาสนา คือสมัยสุโขทัย มีหลักฐานในเจดีย์วัดศรีชุม  จังหวัดสุโขทัย นิทานเหล่านี้ บางเรื่องเป็นนิทานเก่าแก่มีมาก่อนสมัยพุทธกาลเสียอีก
WWW.khunmaebook.tarad.com

3.นิทานประเภทคำสอน ได้แก่ นิทานเก่าแก่ของอินเดียบ้าง กรีกบ้าง นิทานเหล่านี้แทรกคำสอนในการดำเนินชีวิต การวางตนตลอดการครองตนในสังคมอย่างมีความสุขและความสำเร็จ

www.ebooks.in.th

4.นิทานชาดกนอกนิบาตชาดก นิทานประเภทนี้ได้เรื่องมาจากปัณณาสชาดกสันนิษฐานว่า เป็นนิทานพื้นเมืองของประเทศต่างๆ เช่น ทิเบต ศรีลังกา ชวา เป็นต้น แล้วนำมาแต่งให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรื่องชาดกในนิบาตชาดก มีลักษณะแอบอ้างว่าเป็นพุทธวจนะ การกลับชาติมาเกิด เป็นต้น

5.นิทานพื้นเมือง ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวกับตำนานของสถานที่ตามเมืองต่างๆบอกถึงสาเหตุที่ได้ชื่อนั้นๆเพราะเหตุไร เช่น เรื่อง ตาม่องล่าย ที่มากลายเป็นชื่อของภูเขาลูกหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำนานวัดพระเจ้าพระนางเชิง อยุธยาที่มีเรื่องพระเจ้าสายน้ำผึ้งกับนางสร้อยดอกหมาก มีปรากฏอยู่ในหนังสือพงศาวดาร
 www.nationejobs.com 

6.นิทานประเภทจักรๆ วงศ์ๆ ได้แก่ นิทานที่ผู้แต่งสร้างโครงเรื่องขึ้นเองอาจจะใช้แนวเทียบก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ ลักษณะของเรื่องเป็นไปในแบบพรรณนาถึงชีวิตของเจ้าชายคนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ออกไปแสวงหาวิชากับพระอาจารย์ เมื่อสำเร็จแล้วก็ต้องมีการผจญภัยแล้วก็พบคู่ครองในที่สุด
topicstock.pantip.com

7.นิทานสุภาษิต นิทานพวกนี้มีแทรกอยู่กับสุภาษิต มักเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว นักปราชญ์ได้ยกมาอย่างย่อๆ เช่น โครงโลกนิติ มีโครงที่กล่าวถึงเรื่องราวในนิทาน เรื่องหมูพาลกับราสีห์ ซึ่งมีชื่อว่า สุกรชาดก นิทานเรื่องนกแขกเต้ากับโจน เป็นต้น
8.นิทานยอพระเกียรติ นิทานพวกนี้เป็นนิทานที่ใช้แต่งรวมกับพฤติการณ์ของพระเจ้าแผ่นดินที่กวีต้องการที่จะยกย่อง เช่น นิทานเวตาล
su-usedbook.tarad.com

นอกจากนิทานทั้ง 8 อย่างที่กล่าวมานี้ อาจจะมีนิทานอื่นๆที่มาจากประเทศต่างๆ

สรุปท้ายบท
นิทานเป็นศิลปะการถ่ายทอดที่เก่าแก่ และยังเป็นสิ่งบันเทิงที่คนทั่วโลกต้องการ และมีประโยชน์ใช้สอยในเชิงเป็นสื่อเพื่อการสอนวิการต่างๆ เช่นประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสอนจริยธรรม การปรับตัว และส่งเสริมการอ่าน จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเยาวชนได้เป็นอย่างดี
 มีคำกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการเล่านิทานก็เพื่อปลุกให้เด็กๆมีจิตใจอ่อนโยน กล้าหาญ และมีความรู้สึกเสียใจกับความทุกข์ของผู้อื่น และรู้จักแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่น

ไพพรรณ อินทนิล. เทคนิคการเล่านิทาน. กรุงเทพ:สุวีริยาศาสน์,2534

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น