ประวัติความเป็นมาของการเล่านิทาน



เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการเล่านิทาน

มนุษย์มักอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ชุมชนแต่ละชุมชนถึงจะมีความแตกต่างกันแต่มีสิ่งสามัญเหมือนกันคือ ความต้องการ “การบันเทิง” มนุษย์ที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ๆ นี้ย่อมจะต้องการหาเครื่องที่จะทำให้เกิดความครึกครึ้นหายเหงา  จึงมีผู้เล่านิทานซึ่งเป็นคนที่มีความคิดในทางสร้างสรรค์ผูกเรื่องขึ้น โดยอาศัยประวัติของคนจริงๆบ้าง อาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆและตกแต่งเติมเสริมต่อ และเมื่อเล่าต่อๆกันไปย่อมเปลี่ยนแปลงรายละเอียดทีละเล็กทีละน้อย บางเรื่องเล่าสืบต่อกันกันมาหลายชั่วคน ซึ่งแตกกอแตกหน่อกลายเป็นเรื่องคล้ายๆกัน พบเรื่องเดียวกันในที่ไกลๆคนละทวีปก็มี หรือเนื่องจากการอพยพย้ายที่ทำมาหากิน ตัวไปถึงไหนนิทานก็ติดตามตัวไปด้วย มนุษย์ก็มักจะอ้างอิงว่านนิทานโบราณเป็นเรื่องจริง บ้างก็อ้างว่าเป็นเรื่องจากเทวดาบ้าง ผีบ้าง และเมื่อมนุษย์มีความเจริญทางความคิดมากขึ้นก็ยิ่งปรับปรุงทางลักษณะและกลวิธีการเล่านิทานให้ดียิ่งขึ้น (ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ.2522:139-140)
“นิทาน”หมายถึง เรื่องที่เล่ากันตั้งแต่โบราณ ซึ่งตรงกับคำว่า  “นิทานกถา”ในภาษาบาลี ส่วนคำว่า “นิทาน”ของภาษาบาลี แปลว่า เรื่องเดิม เรื่องที่ผูกขึ้น และเรื่องที่อ้างขึ้น (วัชวี รมยะนันท์.2522:9773) นิทานเป็นรูปแบบของศิลปะพื้นบ้านที่เก่าแก่ที่สุดยิ่งกว่าศิลปะทั้งมวล (Nesbitt.1979:434) เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการตีพิมพ์หนังสือ เกิดจากความต้องการของมนุษย์ในการที่จะเปลี่ยนอารมณ์และประสบการณ์จากหลักฐานที่พบการเล่านิทานนี้มีมากกว่า 6,000 ปีแล้ว มีตัวอย่างนิทานของอียิปต์โบราณ จีน ชาวสุเมเรียนและสันสกฤต แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าใครเล่า เล่าทำไมและมีวิธีการเล่าอย่างไร(Pellowski.1997:3:Sawyer.1957:56)มีการจดบันทึกเรื่องราวลงบนแผ่นดินเหนียวและกระดาษปาปิรุส นิทานอียิปต์ทีพบบนแผ่นปาปิรุสม้วนที่ชื่อว่า “West Car Papyrus” ซึ่งบันทึกในช่วง 2,000-1.300 ปีก่อนคริสตกาลเป็นการบันทึกการเล่าเรื่องโดยพ่อเล่าให้ลูกฝังและลูกก็เล่าให้ลูกของตนฟังต่อๆกันและอีกม้วนหนึ่งชื่อ Golenischeff Papyrus ปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ที่เมืองเลนินกราดเป็นการบันทึกคำสนทนาระหว่างขุนนางกับกะลาสีเรือ โดยกะลาสีเรือได้พูดให้กำลังใจกับขุนนางผู้หนึ่งว่า ไม่ควรกลัวการผจญภัยทางเรือ ต่อมาเรื่องได้กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ “กะลาสีเรือแตก” 


นิทานเรื่อง กะลาสีเรือแตก
การเล่านิทานในยุคแรกเป็นเรื่องราวที่เกิดจากสิ่งที่ได้กระทำจนเป็นนิสัย (Behavior Tales) เช่นการเล่าเรื่องเป็นบทเพลงประกอบจังหวะในระหว่างที่ทำงานอยู่ เช่น ขณะเก็บเกี่ยวข้าวโพด ขณะที่เหลาอาวุธล่าสัตว์การเล่าก็มักจะเล่าออกมาทันทีโดยไม่ได้ตั้งตัวล่วงหน้า ผู้เล่าจะแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ  (Sawyer.1957:45) ดังตัวอย่างที่จะยกมานี้ เป็นการเล่าเรื่องการล่าสัตว์ที่แตกต่าง 3อย่าง แต่ละบทเล่าถึงความสำเร็จที่เขาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ความภาคภูมิใจในความเข้มแข็ง

  ตัวอย่างที่ 1 เป็นตะโกนขณะพายเรือ โดยการให้จังหวะการเหวี่ยงไม้พายให้ผู้ที่เฝ้าดูอยู่หรือผู้ที่อยู่บนน้ำแข็ง
  I, Keokuk, have slain a bear
Ayi…ayi…ayi
A great bear, a fierce.
Ayi…ayi…ayi
With might have i slain him.
Ayi…ayi…ayi
Great are the muscles of my arm.
Strong for spear throwing.
Strong for bear slaying.
Strong for kayak going.
  I, Keokuk, have slain a bear
Ayi…ayi…ayi
(Sawyer.1957:46 อ้างอิงมาจาก เพลงร้องในโบสถ์ของกรีนแลนด์)

  ตัวอย่างที่ 2 เป็นบทร้องเพื่อใช้ในการเต้นรอบกองไฟในอัฟริกา
Hunting it was good.
Hunting it was good.
We have killed a beast.
We have killed a beast.
Now we have something to eat.
Now we have something to eat.
(Sawyer.1957:47 อ้างอิงมาจาก Ehrenreich, the Botocudos, a Tapuya Tribe of the Southern Brazil)

  ตัวอย่างที่ 3 ได้มาจากเผ่า Dikes ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของซูตานเป็นการเล่าในงานเลี้ยงเฉลิมฉลองของผู้ที่ผ่านการต่อสู้มาแล้วมาให้เพื่อนร่วมเผ่าฟัง
I have read bull with twisted horns.
He is so big that men can sit and rest in his shadow.
He went into the land of the people and is their beans.
The land trembled because of him.
My father is proud man at my greatness.
Like a lion am I and my enemies are scattered before me.
“Where” said he, is there another like my son?
(Sawyer.1957:47 อ้างอิงมาจาก Cummins, Journal of Anthropology, 1904)
ในพระคัมภีร์ไบเบิลก็ปรากฏรูปแบบนิทานทั้งที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์นพระคัมภีร์เก่า คือ ก่อนสมัยพระเยซู มีรายละเอียดไม่มากมักเกี่ยวกับการเล่านิทานที่น่าสุดใจ คือ พระคัมภีร์ไบเบิลตอล Judges 9:7
เมื่อ Jot ham ได้เล่านิทานเพื่อชักจูงชาวเมือง Shechem เกิดความเชื่อมั่นว่า ผลจากการปกครองของพวก Abimelech ทำให้พวกเขาเดือดร้อน
  นิทานในยุคเริ่มแรกนี้ เรียกว่า “วรรณกรรมพื้นบ้าน” (Folk Literature)ต่อมามีจำนวนมากขึ้นและมีนานาชนิดตั้งแต่เรื่องราวง่ายๆ เช่น เรื่องหญิงชรากับกับหมู (Old Woman and the pig.) และเรื่อง หมูสามตัว (The three pigs.) หรือเทพนิยาย ( Fairy Tales)


www.thaispecial.com





www.chulabook.com



M.online-station.net

นิทานในระยะต่อมายิ่งก้าวหน้ามากขึ้นในด้านศิลปะการเล่า ชนทุกเผ่าจะมีนักเล่านิทานประจำกลุ่ม ต้องมีการเรียนรู้เนื้อและการแสดงออกให้ความสำคัญต่อการเล่านิทานมาก การเล่านิการมีจุดหมายเพื่อสอนเด็กๆให้เป็นคนดี
  สรุป นิทานเป็นเรื่องสามารถเล่าได้ มีพล็อตเรื่อง มีการจินตนาการ มีการเคลื่อนไหว มีสีสัน
  ในยุคกลาง การเล่านิทานเป็นศูนย์กลางความบันเทิงของมนุษย์ นักเล่านิทานซึ่งเรียกว่า นักร้องหรือจินตกวีโบราณ นักเล่านิทานคนสำคัญในสมัยนี้คือ อีสป เป็นนักเล่านิทานที่มีชื่อเสียงมาก นิทานของเขาเล่ามีจำนวนนับพันเรื่อง เดิมอีสปเป็นทาสมีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ นักปราชญ์ชื่อ ซานตุส ได้ซื้อตัวไปเพราะชอบในการโต้ตอบอันคมคายของอีสป

www.royin.go.th.122.155.5.143.no-domain.name


สำหรับหนังสือนิทานอีสปเล่มแรกที่เป็นภาษาไทย คือ “อีสปปกรณำ” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลจากภาษาอังกฤษ สันนิฐานว่าแปลก่อนปี พ.ศ. 2447 สิ่งใหม่ๆที่น่าสนใจในวงการเล่านิทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น